December 26, 2009

การใช้ชีวิตในแคนาดา


ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
แคนาดาตั้งอยู่ทางเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีอาณาเขตทิศตะวันออกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ และทิศเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์คติก มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2ของโลก
แคนาดาตั้งอยู่ในเขตภาคพื้นทวีป ทำให้เป็นประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศค่อนข้างหลากหลาย มีทั้งอากาศที่หนาวเย็นจนถึงจุดเยือกแข็ง มีหิมะในฤดูหนาว และอบอุ่นในฤดูร้อน แต่อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้วแคนาดามี 4 ฤดูกาล คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว และฤดูร้อน อุณหภูมิตอนกลางวันของฤดูร้อนจะอยู่ในช่วง 35 องศาเซลเซียสหรือร้อนกว่านั้น ในขณะที่อุณหภูมิต่ำสุดฤดูหนาวอาจติดลบถึง 25 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วงจะอยู่ในระดับปานกลาง
อากาศในแวนคูเวอร์นั้นอบอุ่นที่สุดในแคนาดา
ฤดูร้อน - แต่ละวันจะอบอุ่นด้วยแสงแดดช่วงเช้าและอากาศเย็นในตอนค่ำ
ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง - อากาศดี อาจมีฝนตกบ้างเป็นครั้งคราว
ฤดูหนาว - อากาศหนาว หิมะมักตกช่วงเดือนธันวาคมและมกราคม
แต่ละฤดูก็จะมีเสน่ห์และความสวยงามต่างกัน โดยเราอาจจะเล่นสกีในหน้าหนาวหรือเดินป่าในหน้าร้อน หรือ อาจจะตีกอล์ฟ และเล่นสกีในวันเดียวกันของฤดูร้อนนั้น กิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงของแคนาดามักจะอิงอยู่กับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการขี่จักรยาน การไต่เขา การแล่นเรือใบหรือพายเรือคายัค ขณะที่ศึกษาอยู่นักเรียนสามารถหาโอกาสเดินทางไปตามเส้นทางการท่องเที่ยวหลายๆแห่งหรือทำกิจกรมต่างๆที่สามารถไปแบบวันเดียวหรือไปในวันหยุดสุดสัปดาห์ได้
สำหรับนักเรียนในเขตประเทศแถบร้อนไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับอากาศมากจนเกินไป เนื่องจากตามอาคารต่างๆ ยานพาหนะได้มีการติดตั้งเครื่องทำความร้อน จึงทำให้สามารถรักษาระดับของอุณหภูมิให้อุ่นอยู่เสมอ

.............................................................................................................................



ภาษา
ประเทศแคนาดามีภาษาราชการ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส แต่ประชากรส่วนใหญ่
จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ มีเพียงประชากรในรัฐควิเบคเท่านั้นที่พูดภาษาฝรั่งเศส

.............................................................................................................................



เวลา
เวลาในประเทศแคนาดาได้ถูกแบ่งออกเป็น 6 โซนโดยอิงตามพื้นที่ ซึ่งในแต่ละโซนจะมีเวลาต่างกัน 1 ชั่วโมงโดยประมาณ ซึ่งจะต่างจากเวลาประเทศไทย คือ เวลาที่กรุงเทพจะเร็วกว่าประมาณ 14 - 15 ชั่วโมง
.............................................................................................................................

โทรศัพท์
แคนาดามีระบบโทรศัพท์ ที่ดีมากโดยที่สามารถหาตู้โทรศัพท์ได้ทุกมุมถนนของทุกเมือง
ค่าโทรศัพท์ทางไกล จะถูกที่สุด ในช่วง 23.00-8.00 น. รองลงมาคือ 18.00-23.00 น. ยกเว้นวันอาทิตย์ หากโทรศัพท์ในช่วง 8.00-23.00 น. จะประหยัดค่าโทรมากกว่า
วิธีโทรศัพท์

จากแคนาดาเข้าประเทศไทย เพียงกด 011+66+รหัสจังหวัด+เลขหมายที่ต้องการ
จากเมืองไทยไปยังแคนาดา สามารถกด 009+1+(รหัสเมือง)+เลขหมายที่ต้องการ
การใช้โทรศัพท์มือถือ
แคนาดามีบริษัทที่ให้บริกาีีรโทรศัพท์มือถือหลายบริษัท อาทิเช่น Virgin Mobile, Bell Canada,Sprint, SaskTel ฯลฯ น้องสามารถใช้มือถือจากเมืองไทยได้ โดยไปซื้อ SIM Card ที่แคนาดาได้เลย แต่ต้องเติมเงินต่างหากนะคะ

.............................................................................................................................



ไปรษณีย์
Canada Post : ที่ทำการไปรษณีย์เปิดให้บริการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 8:0 0-18:00 และวันเสาร์ เวลา 8:30-12:00 โดยทั่วไปสามารถใช้บริการพื้นฐานของไปรษณีย์ เช่น การซื้อ Stamp และโปสการ์ด (สำหรับโปสการ์ดที่แคนาดา จะมีโปสการ์ดที่รวมค่าแสตมป์ไว้ในตัวโปสการ์ดเรียบร้อยแล้ววางขายอยู่ด้วย)ได้ที่ ร้านขายยา ร้านค้า โรงแรมและ Campusของมหาวิทยาลัยได้ แต่การส่งจดหมายลงทะเบียนไม่สามารถทำได้ต้องไปส่ง ที่ที่ทำการไปรษณีย์ภายนอกมหาวิทยาลัย
Post Office Boxes หรือ P.O. Box : เ็ป็นบริการเช่าตู้ไปรษรีย์ส่วนตัว ค่าเช่าแตกต่างกันไป แล้วแต่เมืองการเช่าก็ทำไม่ยาก น้องๆเพียงแต่นำ ID card หรือpassport เพื่อใช้ในการสมัคร
บริการไปรษณีย์ แบ่งเป็นภายในประเทศและต่างประเืทศ
ภายในประเทศ
  • Express Mail : ส่งถึงภายใน 1 วัน ราคาเริ่มต้นที่ $13.05 ขึ้นอยู่กับขนาด น้ำหนัก และระยะทาง
  • Priority Mail : ส่งถึงภายใน 1-3 วัน ราคาเริ่มต้นที่ $4.95 ขึ้นอยู่กับขนาด น้ำหนัก และระยะทาง
  • First-Class Mail : ส่งถึงภายใน 1-3 วัน ราคาเริ่มต้นที่ $0.44 ขึ้นอยู่กับ น้ำหนัก และ รูปทรง
  • Parcel Post : ส่งถึงภายใน 2-8 วัน ราคาเริ่มต้นที่ $4.95 ขึ้นอยู่กับ น้ำหนัก และ ระยะทาง
  • Media Mail : ส่งถึงภายใน 2-8 วัน ราคาเริ่มต้นที่ $2.38 ขึ้นอยู่กับ น้ำหนัก Library Mail ส่งถึงภายใน 2-8 วันราคาเริ่มต้นที่ $2.38 ขึ้นอยู่กับ น้ำหนัก
ต่างประเทศ

  • Global Express Guaranteed : ส่งถึงภายใน 1-3 วัน ราคาเริ่มต้นที่ $31.95 ขึ้นอยู่กับ น้ำหนัก และระยะทาง
  • Express Mail International : ส่งถึงภายใน 3-5 วัน ราคาเริ่มต้นที่ $25.95 ขึ้นอยู่กับ น้ำหนัก และระยะทาง
  • Priority Mail International : ส่งถึงภายใน 6-10 วัน ราคาเริ่มต้นที่ $10.95 ขึ้นอยู่กับ น้ำหนัก และ รูปทรง
  • First-Class Mail International : ไม่สามารถระบุเวลาที่ส่งถึงผู้รับได้ ราคาเริ่มต้นที่ $0.75 ขึ้นอยู่กับน้ำหนักและระยะทาง
น้องๆสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.canadapost.ca/

.............................................................................................................................



ระบบขนส่งมวลชน
มีระบบคมานาคมขนส่งหลากหลาย เช่น ระบบขนส่งมวลชน ประกอบไปด้วย Taxi รถโดยสาร รถไฟฟ้า รถไฟ รถโค้ช และเรือข้ามฟาก ระบบการขนส่งมวลชนจะแตกต่างกันไปในแต่ละเมือง ซึ่งจะมีบัตรโดยสารเป็นรายเดือน จำหน่ายราคาจะแบ่งตามโซน
  • รถโดยสาร - สำหรับการเดินทางในดาวน์ทาวน์และบริเวณพื้นที่รอบนอก
  • รถไฟฟ้า - สำหรับเดินทางไปยังบริเวณที่อยู่อาศัยรอบนอก
  • เรือ SeaBus - หากต้องการข้ามฟาก Burrard Inlet
  • เรือ Aquabus สำหรับเดินทางไป Falsecreek Science Center หรือ Granville Islands
น้องๆที่อยู่หอพักใน Campus มหาวิทยาลัยอาจจะเดินไปเรียนได้ น้องๆที่ต้องการซื้อรถต้องมีใบขับขี่ซึ่ง International License ซึ่งสามารถใช้ได้ในบางเมือง ในพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้ International License ได้น้องๆสามารถที่จะไปทำใบขับได้และต้องทำประกันภัยด้วย
ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.translink.bc.ca

.............................................................................................................................



สกุลเงิน
แคนาดาใช้ระบบเมตริกเป็นมาตรฐานในการวัดหน่วยสกุลเงินที่ใช้เป็นดอลลาร์ ซึ่งเท่ากับ 100 เซนต์ สำหรับธนบัตรที่ใช้กันทั่วไปในแคนาดาได้แก่ธนบัตรเงินมูลค่า $5, $10, $20, $50 และ $100 เป็นหลัก และยังคงมีธนบัตรราคา 1 และ 2 ดอลลาร์ แคนาดาหมุนเวียนอยู่และสามารถชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย ธนบัตรของแคนาดาจะมีเครื่องหมายแสดงชัดเจน และแต่ละใบหลักๆ จะมีสีที่แตกต่างกัน
ส่วนเหรียญจะมีค่าเท่ากับ 1 เซนต์ (เพนนี) 5 เซนต์ (นิเกิล) 10 เซนต์ (ดิม) 25 เซนต์ (ควอเตอร์) $1 (ลูนนี่) และ $2 (ทวูนนี่)

.............................................................................................................................



ธนาคารและการแลกเปลี่ยนเงิน
ธนาคารและการแลกเปลี่ยนเงิน ธนาคารบางแห่งจะคิดค่าธรรมเนียมเล็กน้อยสำหรับการ แลกเงินหรือเช็ค เดินทาง นอกจากนี้อัตราแลกเปลี่ยนที่แสดงไว้มักไม่รวมภาษี หากไปใช้บริการควรตรวจสอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ให้แน่ชัดก่อนที่จะแลกเงินเสมอ โดยทั่วไปธนาคารจะเปิดทำการ วันจันทร์ – วันศุกร์ 9.00-17.00 น. นอกจากนี้ ยังมีบรรดา โรงแรม ร้านค้า ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแต่อาจคิดค่าธรรมเนียมสูง หรือจะใช้ บริการถอนเงินจากเครื่อง ATM ก็ได้ซึ่งโดยปกติแล้วบัตรเครดิตหลักๆหรือบัตรธนาคารปกติจะสามารถใช้ถอน เงินสดได้หรืออาจเปิดบัญชีกับธนาคารท้อง ถิ่นและใช้บริการ ATM ควบคู่กันไป
สำหรับบัตรเครดิต ธนาคารจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนของวันที่ใช้บัตรเครดิตในการคิดค่าใช้จ่าย นักเรียนควรแลกเงินสดติดตัวก่อนเดินทางมายังแคนาดาจำนวนหนึ่ง
เอกสารที่ต้องใช้ในการเปิดบัญชีธนาคาร ได้แก่
• Passport/บัตรนักเรียน
• จดหมายรับรองจากสถาบันการศึกษาที่เรียนอยู่
• ที่อยู่ที่แน่นอนในแคนนาดา

.............................................................................................................................



ร้านค้าและห้างสรรพสินค้า
ร้านค้าต่างๆส่วนใหญ่จะเปิดบริการตั้งแต่ 9.00-17.00 น. วันจันทร์ถึงวันเสาร์ วันอาทิตย์ 12:00-17:00 ส่วนในวันศุกร์บางร้านอาจจะเปิดถึง 21.00 น. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละเมือง แต่ถ้าเป็นห้างสรรพสินค้าใหญ่ ช้อปปิ้งมอลล์จะเปิดบริการถึง 21.00 น.ทุกวัน ในเมืองใหญ่อาจจะมีร้านขายของชำและซูเปอร์มาร์เก็ตที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
ส่วนภัตตาคารจะเปิดให้บริการถึงเวลาประมาณเที่ยงคืน เนื่องจากชาวแคนาเดียนกินอาหารไม่ดึกเกินไปนัก คาเฟ่หรือร้านกาแฟเล็กๆ อาจเริ่มให้บริการตั้งแต่ 6.00 น. แต่ในทุกเมืองก็จะมีร้านอาหาร ที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงด้วยเช่นกัน

.............................................................................................................................



ธรรมเนียมการให้ทิป
โดยทั่วไปแล้วทิปจะไม่ได้ถูกใส่ไว้บนบิล แต่ตามธรรมเนียมแล้วเราจะต้องจ่ายทิปประมาณ 10 - 20% จากค่าสินค้าและบริการ
ตัวอย่างการทิปในแคนาดา
  • การไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ทิป 15-20% ถ้าเป็นร้านที่ให้บริการที่ดีมากๆ
  • ถ้าส่งอาหาร fast food หรือสั่งอาหาีรในโรงอาหาร หรือ ร้าน Self-service ไม่จำเป็นต้องทิป
  • Taxi ต้องทิปประมาณ 10-15% จากค่ารถ
  • ต้องทิปให้คนยกกระเป๋าที่สนามบินหรือในโรงแรม $1 ต่อ กระเป๋า 1 ใบ
  • ช่างทำผมต้องทิปประมาณ 10-15% จากค่าบริการ
  • ห้ามให้ทิปแก่ ตำรวจ เจ้าหน้าที่ของทางราชการ เพราะถือว่าผิดกฎหมาย
ข้อมูลจาก : Education USA; U.S. Department of State Bureau of Educational and Cultural Affairs’ website

.............................................................................................................................



ภาษี
ในฐานะนักท่องเที่ยวอาจได้รับการคืนภาษี ดังนั้นจึงควรเก็บใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่ซื้อสินค้าและ บริการ (Goods & Services Tax-GST) ที่มีมูลค่าของสินค้าแต่ละหนึ่งใบเสร็จเกิน 50 ดอลลาร์แคนาดา และ เมื่อรวมราคาสินค้าทุกชิ้นแล้วต้องไม่น้อยกว่า 200 ดอลลาร์แคนาดา โดยมีข้อแม้ว่า ผู้ที่ขอคืนเงินภาษีจะต้อง เป็นผู้ที่มิได้พำนักในแคนาดาเป็นการถาวร และซื้อสินค้าเพื่อไปใช้นอกประเทศโดยนำสินค้าออกจากประเทศ แคนาดาภายใน 60 วัน และได้ เสียภาษี 7%แก่สินค้านั้นๆไปก่อนหน้านี้
สามารถขอรับแบบฟอร์มและกรอกเพื่อการขอคืนภาษีได้ที่ ประชาสัมพันธ์ของสนามบินหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป หรือ สำนักงานท่องเที่ยวโดยจะมีสมุดเล่มเล็กชื่อว่า Tax Refund for Visitors ที่มีรายละเอียดทั้งหมดของ การคืนภาษี ว่าต้องทำอย่างไร มีเงื่อนไขอะไรบ้าง สินค้าใดที่ไม่สามารถขอคืนภาษีได้ เมื่อกรอกเสร็จแล้วให้แนบ ใบเสร็จตัวจริงแล้วส่งไปรษณีย์ตามที่อยู่ด้านหลังแบบฟอร์ม อีกประมาณ 4 - 6 สัปดาห์จึงจะได้รับเช็คคืนภาษี
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อสอบถามที่สถานศึกษาหรือกรมสรรพากรของแคนาดาหรือwww.rc.gc.ca/visitors

.............................................................................................................................



ที่พักอาศัย
  • ที่พักชั่วคราว
การสำรองที่พักล่วงหน้าถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับฤดูกาลท่องเที่ยว โดยแคนาดาจะมีนักท่องเที่ยวมากช่วงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคม โรงแรมส่วนใหญ่จะถูกจองทีพักกันเต็มไปหมด (เต็มถึงร้อยละ 90) ดังนั้นการหาที่พักที่เหมาะสมโดยที่ไม่ได้จองล่วงหน้านั้นเป็นเรื่องยากมาก เมื่อมีการเดินทางอย่างกะทันหันและจัดเตรียมที่พักระยะยาวไม่ทัน นักเรียน นักศึกษาอาจจะจำเป็นต้องพักที่พักชั่วคราวในระยะสั้น โดยจะคิดอัตราค่าที่พักต่อคืน
โรงแรม (Bed Room Only)

โรงแรมจะมีการบริหารราคา และคุณภาพแตกต่างกันไป ปกติแล้วห้องพักในเมืองใหญ่จะมีราคาแพงกว่าห้องพักในเมืองขนาดเล็ก โดยทั่วไปโรงแรมต่างๆในแคนาดานั้นสะอาด สะดวกสบาย และมีราคาที่เหมาะสม โรงแรมส่วนใหญ่ยินดีรับบัตรเครดิตหลักๆ และสามารถสำรองที่พักได้โดยตรง หรือผ่านบริษัทตัวแทนท่องเที่ยวในประเทศไทยก็ได้
ค่าที่พักในโรงแรมโดยประมาณต่อคืน
  • อัตราขั้นต่ำ $45-$75 (ขอแนะนำว่าให้ตรวจสอบที่พักในอัตรานี้อย่างรองคอบ เนื่องจากการหาที่พักที่มีคุณภาพดีเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่)
  • อัตราปานกลาง: $55-$135 เหรียญ
  • อัตราราคาแพง: $135-250 เหรียญ
  • อัตราราคาโรงแรมห้าดาว: ตั้งแต่ราคา $250 เหรียญขึ้นไป

ที่นอนและอาหารเช้า (Bed & Breakfast)
ตัวเลือกของที่พักชั่วคราวอีกอย่างหนึ่ง คือ ที่นอนและอาหารเช้า โดยห้องพักจะอยู่ภายในบ้านส่วนตัว หรือที่จัดไว้เฉพาะที่ ราคค่าห้องพักจะรวมถึงอาหารเช้ามื้อใหญ่ ห้องพักจำนวนมากจะมีห้องสุขา และห้องอาบน้ำภายในตัวที่พัก ที่พักแบบที่นอนและอาหารเช้านั้นจะมีอยู่หลายแบบ อาจจะเป็นบ้านโบราณ ทาวน์เฮ้าส์สมัยใหม่ บ้านไร่ในชนบท หรือบ้านริมทะเล และที่พักแบบนี้จะทำมีโอกาสสัมผัสกับผู้คนท้องถิ่น
ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของห้องพักที่มีที่นอนและอาหารเช้า $35-$105 เหรียญต่อคืน

หอพักเยาวชน / YECA/YMCA
การใช้บริการหอพัก เป็นวิธีการพำนักชั่วคราวในเมืองใหญ่ที่เสียค่าใช้น้อย ที่พักเป็นที่พักธรรมดาแต่ราคาประหยัด โดยใช้เครื่องอำนวยความสะดวกทั่วไป (ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ และห้องครัว) ร่วมกันส่วนอัตราค่าเช่าจะคิดเป็นรายวัน และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่พักประเภทอื่น
ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อห้องในหอพัก: $10-$20 เหรียญต่อคืน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหอพักในแคนาดา สามารถติดต่อได้ที่:
Hostelling International - Canada
400-205 Catherine Street
Ottawa, Ontario
Canada K2P 1C3
โทรศัพท์: (613) 237-7884 or 1-800-663-5777
โทรสาร: (613) 237-7868
อีเมล: info@hostellingintl.ca
ที่พัก YWCA/YMCA ยังมีราคาไม่แพง สะอาดปลอดภัย และสะดวกสบาย ที่พักเหล่านี้ หลายแห่งจะมีสระว่ายน้ำ และศูนย์ออกกำลังด้วย โปรดจำไว้ว่า หอพัก และ YWCA/YMCA จะเต็มอย่างรวดเร็วในช่วงภาคฤดูร้อน ดังนั้นท่านจึงควรวางแผนล่วงหน้า
ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของห้องพักใน YWCA/YMCA : $24 – $45 เหรียญต่อคืน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่:
YWCA of Canada
590 Jarvis Street
5th Floor
Toronto, ON
Canada M4Y 2J4
โทรศัพท: (416) 962-8881
โทรสาร: (416) 962-8084
อีเมล: national@ywcacanada.ca
YMCA of Canada
42 Charles Street East
6th Floor
Toronto, ON
Canada M4Y 1T4
โทรศัพท: (416) 967-9622
โทรสาร: (416) 967-9618
อีเมล: services@ymca.ca

  • ที่พักระยะยาว
1. ที่พักที่โรงเรียนจัดเตรียมไว้
การพักกับครอบครัว
ครอบครัวชาวแคนาดาจำนวน ยินดีต้องรับนักศึกษาต่างชาติ การพักแบบนี้เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในการพัฒนาภาษาอังกฤษ หรือฝรั่งเศสของท่าน พร้อมกับได้เรียนรู้ชีวิตประจำวันในแคนาดา และพบเพื่อนใหม่ๆที่เป็นมิตร นอกจากนี้การพักกับครอบครัวยังหยิบยื่นความมั่นคงและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สำหรับคนรุ่นหนุ่มสาวที่เดินทางมาศึกษาที่แคนาดา โดยทั่วไปการพักลักษณะนี้ จะเป็นครอบครัวชาวแคนาดาที่ต้อนรับนักศึกษาที่มาศึกษาในแคนาดา ให้พำนักอยู่ที่บ้านของตน โดยที่ครอบครัวจะจัดเตรียมอาหารและห้องพักส่วนตัวไว้ให้ รวมไปถึงการต้องรับขับสู้และกระตุ้นให้นักศึกษาผู้นั้นมีส่วนร่วมในกิจกรรม ของครอบครัวและชุมชน
ทางโรงเรียนจะเป็นผู้จัดหาครอบครัวให้ โดยจะจัดนักศึกษาให้พักกับครอบครัวที่มีความสนใจในสิ่งที่คล้ายกัน แต่ละบ้านจะมีสิ่งอำนวยความสะดวก และสถานที่ตั้งแตกต่างกันไป แต่ท่านสามารถเลือก และควรแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบถึงความต้องการของท่าน เพื่อที่ทางโรงเรียนจะได้พิจารณาจับคู่ได้อย่างเหมาะสม โรงเรียนจำนวนมากสามารถจัดการให้ตัวแทนสถาบันการศึกษา หรือครอบครัวเจ้าของที่พัก ได้พับกับนักศึกาาที่สนามบินทันทีที่ท่านเดินทางมาถึงได้
ราคาจะแตกต่างกันไปตามสถานที่ตั้งและที่พักกับครอบครัว ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยสำหรับที่พักกับครอบครัว $400-$800 เหรียญต่อเดือน บางแห่งอาจคิดค่ามัดจำในการอยู่อาศัยแรกเริ่มสูงสุดถึง $200 เหรียญ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อกับโรงเรียนที่จะเข้าศึกษา

ที่พัก / หอพักในสถานศึกษา

โรงเรียนจำนวนมากจะมีที่พักจัดไว้อำนวยความสะดวกที่ตั้งอยู่ในหรือใกล้กับสถานศึกษา หอพักจะมีขนาดและคุณภาพที่แตกต่างกัน และหอพักในสถานศึกษาหลายแห่งจะใช้ห้องครัว ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ และห้องบริการซักรีด ที่ใช้ร่วมกัน ปกติแล้วท่านสามารถเลือกได้ว่าจะพักห้องคู่หรือห้องเดี่ยวส่วนตัวได้ โดยทั่วไปแล้วหอพักในสถานศึกษานี้จะแบ่งออกเป็นหอหญิงและหอชาย ในบางแห่งค่าใช้จ่ายของหอพักยังรวมถึงค่าอาหารด้วย นอกจากนี้หอพักในสถานศึกษาส่วนใหญ่มักจะตกแต่งเรียบร้อยแล้ว และถือเป็นที่พักวิเศษสุดสำหรับการเข้าร่วมจัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัย และพบปะเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน
ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของที่พักและ หอพักในสถานศึกษา $3000 – $7,500 เหรียญต่อปีการศึกษา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อกับโรงเรียนที่จะเข้าศึกษา

2. ที่พักนอกสถานศึกษา
การเช่าบ้าน
บ้านเช่าเป็นตัวเลือกอย่างหนึ่งที่นักศึกษาสามารถเลือกได้ แต่ราคา คุณภาพ และความสะดวกสบายนั้นแตกต่างกันอย่างมาก ค่าเช่าบ้านในเมืองใหญ่ ๆ จะมีราคาสูงมาก และหาได้ไม่ง่าย นักศึกษาจำนวนมากต้องพักร่วมกันเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และปกติแล้วก็จะเลือกสถานที่ ที่ตรงกับความชอบ และความต้องการของตน โรงเรียนจำนวนมากได้จัดศูนย์บริการ ซึ่งมีรายชื่อของบ้านเช่าที่อยู่ใกล้กับสถานศึกษาไว้บริการผู้ที่สนใจ ที่ศูนย์บริกรดังกล่าว ผู้ที่ต้องการห้องพักคู่ก็สามารถหาเพื่อนร่วมห้องได้ด้วย ในบริเวณมหาวิทยาลัยท่านจะเห็นป้ายโฆษณาแบบต่าง ๆ ของบ้านเช่า ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานศึกษาอยู่บ่อย ๆ แต่สิ่งที่ดีที่สุดเสมอก็คือ ควรเตรียมการล่วงหน้าก่อนเดินทางมาถึงแคนาดา
ประเภทของบ้านเช่าที่สามารถเช่าอยู่ได้ในฐานะของนักศึกษา ต่างชาติมีอยู่หลายประเภท ปกติแล้วบ้านพักจะมีราคาแพงเกินไปสำหรับนักศึกษาที่จะเช่าอยู่เพียงคนเดียว แต่นักศึกษาหลายคนสามารถจะแบ่งหรือเช่าห้องชุด(บริเวณห้องที่ประกอบไปด้วย ห้องครัว ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ และห้องนอน) อยู่ภายในบ้านพักขนาดใหญ่ ทางเลือกประการต่อมาก็คืออพาร์ตเมนต์ ซึ่งจะมีห้องครัว ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ และห้องนอน 1 หรือ 2 ห้อง อพาร์ตเมนต์สำหรับเช่าส่วนใหญ่จะไม่รวมเฟอร์นิเจอร์อย่างไรก็ตาม บางแห่งจะรวมค่าใช้จ่ายของเครื่องทำความร้อน และหรือค่าไฟไว้ในค่าเช่าด้วย
สำหรับรายชื่ออพาร์ตเมนต์หรือบ้านพักต่างๆ จะตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเป็นรายสัปดาห์ถือเป็นความรับผิดชอบของ นักศึกษาที่จะพิจราณาถึงความเหมาะสมเอง เนื่องจากโรงเรียนไม่ได้ตรวจสอบหรือจัดเตรียมสถานที่เหล่านี้น เจ้าของที่ดินส่วนใหญ่ต้องการเงินมัดจำค่าความเสียหายและการชำระค่าเช่าเป็น รายเดือนด้วยเงินสดหรือเช็ค ดังนั้นจึงความทำข้อตกลงกับเจ้าของที่ดินด้วยความรอบคอบ ท่านต้องตรวจสอบและศึกษาเงื่อนไขการเช่าอย่างละเอียดก่อนที่จะลงนาม นอกจากนี้ก่อนที่จะทำสัญญาเช่า ควรตรวจสอบ อพาร์ตเมนต์หรือห้องชุดอย่างละเอียด เพื่อดูว่ามีสิ่งใดที่จะให้เจ้าของห้องซ่อมแซมก่อนที่จะย้ายเข้ามาอยู่หรือ ไม่ หากท่านประสบปัญหาในการเช่าบ้านท่านควรติดต่อกับสำนักงานจัดหาบ้านเช่าใน มณฑลที่ท่านอยู่
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับที่พักรวมกันในแคนาดา $250-$700 เหรียญต่อเดือน
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับห้องชุดหรืออพาร์ตเมนต์ $400-$1,500 เหรียญต่อเดือน

.............................................................................................................................



การประกันสุขภาพ
นักเรียนทุกคนจำเป็นที่จะต้องมีการทำประกันสุขภาพซึ่งเป็นข้อบังคับ และระเบียบจะแตกต่างกันไปตามแต่ละมณฑล ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมีเนื่องจากนักเรียนอาจเกิดเจ็บป่วยระหว่างที่ศึกษาอยู่ในแคนาดา ทางสถาบันการศึกษาส่วนมากจะให้นักเรียนทำประกันุสุขภาพไว้อยู่แล้ว โดยทั่วไปน้องๆสามารถใช้บริการทางการแพทย์ที่ทางโรงเรียนจัดไว้ให้ อย่างไรก็ตามในกรณีที่เจ็บป่วยมากอาจจะต้องใช้บริการแพทย์ภายนอกซึ่งทางบริษัทประกันที่น้องๆทำประกันสุขภาพไว้จะดูแลค่าใช้จ่ายให้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ policy ของกรรมธรรมน์ที่ทำไว้ด้วย
แผนประกันสุขภาพของรัฐบาลจะสะดวกกว่าของเอกชน และเป็นที่ยอมรับมากกว่า กฎระเบียบข้อบังคับค่าเบี้ยประกันสุขภาพของแต่ละมณฑลจะแตกต่างกันไปบ้าง ความคุ้มครองทางการแพทย์จะเริ่มก็ต่อเมื่อนักศึกษาเดินทางถึงประเทศแคนาดาแล้วเท่านั้น

.............................................................................................................................



การทำงานของนักเรียนต่างชาติ

นักศึกษาที่ลงเรียนเต็มเวลาทั้งระดับปริญญาตรีและอนุปริญญา สามารถทำงานในวิทยาเขตที่เรียนได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตการว่าจ้างการทำงานจากรัฐบาล เช่น งานในห้องสมุด ห้องอาหาร สโมสรของมหาวิทยาลัย
สำหรับนักศึกษาปริญญาโทหรือเอก สามารถทำงานเป็นผู้ช่วยครูผู้สอน และถ้านักศึกษาที่ลงเรียนเต็มเวลาเรียนครบ 1 ปีแล้ว ในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยของรัฐ เฉพาะในมณฑลมานิโตบาและมณฑลนิวบรันสวิค สามารถทำงานนอกสถานที่เรียนได้ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และช่วงปิดภาคเรียนก็สามารถทำงานได้เต็มเวลา
ส่วนนักศึกษาที่เรียนเต็มเวลา 2 ปี และจบจากมหาวิทยาลัย / วิทยาลัยของรัฐ ในมณฑลอัลเบอร์ต้า ชัสกาสเชวาน โนวาสโกเทียและนิวบรันสวิค นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพในสาขาที่สำเร็จการศึกษาภายในมณฑลที่กล่าวมาได้ 2 ปี โดยสามารถขอวีซ่าทำงาน ( Employment Authorization) ได้จากกองตรวจคนเข้าเมืองประเทศแคนาดา และพิเศษสำหรับนักศึกษาที่เลือกเรียนที่มณฑลชัสกาสเชวานและจบการศึกษาที่ มณฑลนี้ สามารถสมัครเป็นประชากรแคนาดาถาวรของมณฑลนี้ได้

.............................................................................................................................



การเตรียมความพร้อมก่อนมาแคนาดา
ข้อควรทราบเกี่ยวกับวีซ่านักเรียน
เมื่อได้รับวีซ่าแล้วนักเรียนควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารที่ได้รับเพื่อจะได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง เอกสารดังกล่าว คือ สติ๊กเกอร์ที่ติดในหนังสือเดินทาง หมายถึงใบอนุญาตเข้าเมือง จะรุบุว่านักศึกษาจะเดินทางเข้าประเทศแคนาดาได้กี่ครั้ง และวันที่ Expiry date หมายถึงวันสุดท้ายที่นักศึกษาสามารถเดินทางเข้าประเทศแคนาดาได้ นอกจากนี้ยังมีเอกสารแผ่นใหญ่ที่เรียกว่า Student Authorization เป็นเอกสารแสดงว่านักศึกษาได้รับอนุญาตให้ศึกษาและพักอาศัยในประเทศแคนาดา โดยปกติจะมีอายุเพียง 1 ปี ถ้าประสงค์จะศึกษาต่อนักศึกษาจำเป็นต้องต่ออายุ นักเรียนจะไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศ ถ้าไม่มีเอกสาร 2 แผ่นนี้แนบในพาสปอร์ต
น้องๆอย่าลืมถ่ายสำเนาเอกสารเหล่านี้ไว้ให้กับผู้ปกครองที่เมืองไทยด้วย ในกรณีที่ต้องอ้างถึงเอกสารนี้ เช่น เอกสารฉบับจริงหาย หรือการจัดส่งเงินไปให้กับนักศึกษาในภายหลัง
เอกสารเกี่ยวกับการเรียนในประเทศแคนาดา
1. ใบตอบรับการเป็นนักศึกษา CoE สำคัญมาก ถ้าลืมเอาไปก็อาจเข้าประเทศไม่ได้
2. ผล IELTS หรือ TOEFL เพื่อแสดงกับสถาบันการศึกษา (ถ้ามี)
3. ใบผ่านงาน
4. Transcript
เอกสารบัตรประจำตัว
1. บัตรประชาชน
2. ใบขับขี่
3. ใบขับขี่สากล
โดยน้องๆ ต้องถ่ายเอกสารเหล่านี้เก็บไว้ที่ที่พัก 1 ชุด ในกรณีที่เอกสารตัวจริงหายหรือในบางกรณีต้องให้ผู้ปกครองใช้อ้างอิง และควรถ่ายสำเนาเอกสารติดตัวไว้ใช้ 1 ชุด ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย ต้องใช้สำเนาหลักฐานพวกนี้ในการอ้างอิง

.............................................................................................................................



การตรวจสุขภาพ
ก่อนเดินทางมาแคนาดา นักเรียน นักศึกษาควรตรวจสุขภาพนอกเหนือจากที๋โรงพยาบาลตรวจตามเงื่อนไขของสถานทูต เช่น สายตา และ ฟัน เพราะว่าประกันสุขภาพ OSHC ไม่คุ้มครอง และมีค่าใช้จ่ายแพงเมื่อต้องทำการรักษาที่แคนาดา

.............................................................................................................................



การจัดกระเป๋าขึ้นเครื่อง
ปกติสายการบินไทยไปยังประเทศแคนาดาจะอนุญาติให้นำสัมภาระได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อคน และกระเป๋าติดตัว เช่น กระเป๋าเป้, กระเป๋าสะพาย ที่อาจเอาไว้เก็บเอกสาร CoE, กระเป๋าสตางค์, เครื่องเล่นเกมส์ ฯลฯ ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 5 กิโลกรัม หากจำเป็นต้องมีน้ำหนักเกินต้องติดต่อสายการบินล่วงหน้า เพื่อขอผ่อนผันหรือชำระค่าบริการเพิ่ม

.............................................................................................................................

เครื่องใช้ไฟฟ้า

ให้ซื้อจากประเทศไทยดีกว่า เพราะราคาถูกกว่า โดยต้องดูฉลากด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการซื้อสามารถรองรับไฟ ที่ 220-240 โวลต์หรือไม่ ถ้าไม่ได้แล้วน้องเอาไปใช้อาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียได้) และให้เตรียมอแดปเตอร์ไปด้วย เพราะปลั๊กไฟใช้ สามขา และ กำลังไฟ 240 โวลต์ (ประเทศไทยใช้ 2 ขา และ 220 โวลต์)

.............................................................................................................................



เครื่องแต่งกาย
ควรเตรียมหรือซื้อมาจากประเทศไทย เพราะราคาถูกกว่า และให้เตรียมเสื้อกันหนาวหนาๆไปด้วยสำหรับน้องๆ ที่จะไปอยู่ในประเทศเขตหนาว เช่น เมลเบิล, แคนเบอรรา, โฮบาต และยังต้องเตรียมชุดสบาย ๆ ที่ไม่เป็นทางการมากนัก เพราะนักศึกษาที่แคนาดา ไม่วุ่นวายเรื่องการแต่งกาย ใส่อะไรก็ได้ สนใจที่ความตั้งใจในการเรียนเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามควรเตรียมชุดที่เป็นทางการ เช่น กางเกงแสลค เสื้อแขนยาว เนคไท สูท หรือ ชุดสากลไปด้วย เพราะอาจจะจำเป็นต้องใช้ในพิธีสำคัญ

.............................................................................................................................



ยาประจำตัว
สำหรับน้องๆที่มีโรคประจำตัว และต้องการนำยาประจำตัวไปด้วย ควรมีฉลากกำกับยาเป็นภาษาอังกฤษ และมีใบความเห็นแพทย์ รวมทั้งประวัติการรักษาโรคที่ออกโดยแพทย์ประจำตัวเป็นภาษาอังกฤษติดตัวไปด้วย

.............................................................................................................................



เงินสดติดตัว
น้องๆ ต้องแลกเงินบาทไทยเป็นเงินเหรียญแคนาดาที่เคาน์เตอร์แลกเงินในสนามบินสุวรรณภูมิก่อนขึ้นเครื่อง บิน หรือ ถ้าจะแลกก่อน เพราะเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่าก่อน ก็จะช่วยประหยัด เงินได้มากขึ้น โดยให้แลกเป็นจำนวน 1,000 - 1,200 เหรียญแคนาดา (ต้องใช้ เงินประมาณ 28,000 - 33,600 บาท)
น้องๆไม่สามารถหาแลกเงินบาทเป็นเงินแคนาดาจากที่นั่นได้ เพราะว่าที่นั่นเขาไม่ได้ใช้เงินบาทในการแลกเปลี่ยน เพราะค่าเงินของไทยไม่ได้เป็นเงินสากลในเขตประเทศอื่น ๆ ดังนั้น ถ้าคิดว่าจะเอาเงินไทยไปแลกที่แคนาดา น้องๆ อาจต้องอดข้าวหลายวัน เพราะไม่มีที่ไหนรับแลกเงินบาท
น้องๆควรแลกเงินโดยแบ่งสัดส่วน เป็นธนบัตรให้ได้สัก 800-900 เหรียญ และที่เหลือเป็นเหรียญต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับหยอดตู้โทรศัพท์ และใช้จุกจิกเมื่อไปถึงช่วงแรก ๆ
นอกจากนั้นยังควรแลกจำนวนเงินที่เหลือ เช่น 3,000 - 5,000 เหรียญ เป็น เช็คเดินทาง หรือ แบงค์ดราฟ โดยนำติดตัวไปด้วย เช็คจำนวนนี้เอาไว้ไปเปิดบัญชีธนาคาร และสามารถถอนเงินได้โดยบัตรเอทีเอ็มของแคนาดาหลังจากเปิดบัญชีแล้วประมาณ 5 วันทำการ สาเหตุที่ต้องแลกเป็นเช็คเพราะว่า รัฐบาลแคนาดาไม่อนุญาตให้ผู้เดินทางเข้าแคนาดา พกเงินสดติดตัวเกิน 10,000 เหรียญแคนาดา

.............................................................................................................................



การตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับการเข้าเมือง
เอกสารที่นักศึกษาจำเป็นต้องนำติดตัวไปด้วยขณะเดินทางเข้าประเทศแคนาดา คือ
1. หนังสือเดินทาง
2. วีซ่า
3. แบบฟอร์มเดินทางเข้าประเทศ Arrival Form
4. แบบฟอร์มสำแดงสัมภาระ Declaration Form
โดยน้องๆ ต้องกรอกเอกสารในข้อ 3 และ 4 ตั้งแต่อยู่บนเครื่องบิน เพื่อยื่นให้เจ้าหน้าที่ตอนการตรวจสอบการเข้าเมือง
เมื่อมาถึงสนามบินให้น้องๆ เดินไปที่ช่อง Immigration โดยจะแบ่งย่อย ดังนี้
1. ช่องวีซ่าทูต
2. ช่องวีซ่าชาวแคนาดา
3. ช่องวีซ่าชาวต่างประเทศ
4. ช่องวีซ่านักเรียน
สำหรับสนามบินที่ไม่มีช่องวีซ่านักเรียน ให้ใช้ช่องวีซ่าชาวต่างประเทศแทน
โดยที่ช่องนี้น้องๆ จะต้องยื่นเอกสารการเข้าเมืองทั้งหมด ให้เจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจมีการถาม 2-3 คำถาม ให้ตอบไปตามความเป็นจริง (ถ้าน้องไม่เก่งภาษาอังกฤษ ก็ควรจะเขียนหรือฝึกพูดประโยคที่ต้องตอบนั้นเอาไว้ในกระดาษ เช่น มาทำอะไร จะไปไหน อยู่กับใคร กลับเมื่อไหร่ ฯลฯ) เมื่อเรียบร้อย เจ้าหน้าที่จะประทับตรา
เมื่อเอกสารการเข้าเมืองเรียบร้อย น้องๆก็ไปรอรับกระเป๋าสัมภาระที่ขนขึ้นเครื่องได้ โดยให้สังเกตป้ายแสดงในสนามบินว่าสายการบินที่น้องขึ้นเครื่องมา เขาจะเอาสัมภาระส่งมาที่สายพานช่องไหน ที่สนามบินจะมีบริการรถเข็นเพื่อเอามาเข็นกระเป๋า มีทั้งฟรีและหยอดเหรียญ 1-2 เหรียญแคนาดา
น้องๆต้องเตรียมตั๋วเครื่องบินเอาไว้ด้วย โดยน้องๆ หยิบกระเป๋ามาจากสายพานได้เลย และเจ้าหน้าที่อาจขอดูตั๋วเครื่องบินเพื่อดูว่าตรงกับเลขกำกับที่กระเป๋าเดินทางของน้องๆ หรือไม่

.............................................................................................................................



ศุลกากร
หลังจากนี้ก็จะผ่านด่านการตรวจกระเป๋าและสัมภาราระ ซึ่งอาจจะมีกตรวจโดยละเอียด ดังนั้นต้องเปิดเผยให้เท่าที่เจ้าหน้าที่ขอดู เพราะบทลงโทษเรื่องการปกปิดสัมภาาระที่ประเทศแคนาดามีความรุนแรงมาก ดังนั้นควรซื่อสัตย์และจำเป็นต้องแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ หากคิดว่าสิ่งที่นำติดตัวไปเข้าเกณฑ์สิ่งของห้ามนำเข้า
หาก นำเงินสดติดตัวสูงกว่า 10,000 เหรียญแคนาดา ก็ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกไว้ ถ้าไม่มีสิ่งของที่แสดงให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพิ่มเติมก็จะผ่านไปยังช่องสีเขียว แต่หากมีสิ่งของต้องแสดง ก็ให้ผ่านไปช่องสีแดง

.............................................................................................................................



ข้อมูลเพิ่มเติม
ควรศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเทศแคนาดาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เช่น วารสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เขียนเล่าเกี่ยวกับแคนาดา รวมถึงควรจะซื้อแผนที่และพอคเก็ตบุคแนะนำการใช้ชีวิตในแคนาดาติดตัวไปด้วย

.............................................................................................................................







No comments:

Post a Comment